มหามงคลไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ จากร้อนสุดขั้วแต่ฝนตกตอนพิธีแห่พระขอฝนลอดประตูเมือง เกิดปรากฎการณ์สุดเหลือเชื่อบรรยากาศเริ่มพิธีที่วัดอากาศร้อนมาก และเกิดปรากฎการณ์สุดเหลือเชื่อ เมื่อขบวนแห่จากวัดมาถีงลานย่าโม ทำพิธีโบราณบรรยากาศจากร้อนกลายเป็นฟ้าคลึ้ม และพอถึงช่วงพิธีการสำคัญ ผู้ว่าโคราช นำประชาชนที่มาร่วมพิธีกว่า 10,000 คนเดินจูงผ้าเพื่อแห่ “พระขอฝนลอดประตูชุมพล” ได้เกิดฝนตกหนักทันที จนกระทั่งขบวนแห่กลับถึงวัดพระนารายณ์ฯ ฝนหยุดตก นี่คือสิ่งมงคลที่เกิดขึ้นอย่างเหลือเชื่อ
งานมหาสงกรานต์โคราช “วัดพระนารายณ์” อัญเชิญพระคันธารราษฎร์ หรือ “พระปางขอฝน” พระพุทธรูปสำคัญจากวัดพระนารายณ์ แห่ลอดประตูชุมพล เปิดโอกาสให้ประชาชนได้จับชายผ้าพระ เดินตามขบวนกลับไปยังวัด ในวันสงกรานต์ 13 เมษายน หลังจากประเพณีนี้ได้ห่างหายไปตั้งแต่ปี 2522 หรือกว่า 4 ทศวรรษเมื่อ 40 ปีก่อนสงกรานต์โคราชสุดขลัง จัดต่อเนื่องปีที่ 2
เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2561 เวลา 14.00 น. “จังหวัดนครราชสีมา”โดย ผู้ว่าฯวิเชียร จันทรโณทัย ร่วมกับ“วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร” ฟื้นประเพณีอัญเชิญ “พระคันธารราษฎร์” แห่ลอดประตูชุมพล ในวันสงกรานต์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้กราบไหว้ และสรงน้ำพระและได้สัมผัสกับบรรยากาศประเพณีโบราณของวัดโดยมี
สำหรับพิธีอัญเชิญ “พระคันธารราษฎร์” ประดิษฐานบนราชรถ โดยมี นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ และนายกเหล่ากาชาดฯ ได้คล้องพวงมาลัยที่พระหัตถ์ขององค์ “พระคันธารราษฎร์” พระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของพี่น้องชาวโคราช เพื่อนำความสิริมงคลยั่งยืนสถาพรแก่ประชาชนทุกคน
และในพิธีศักดิ์สิทธิ์อัญเชิญ “พระคันธารราษฎร์” ประดิษฐานบนราชรถ นี้จะมีเหล่าเทวดา-นางฟ้า-นางรำ ฟ้อนรำหน้าราชรถ และขบวนจะเริ่มเคลื่อนออกจากประตูวัดฝั่งถนนจอมพลและเลี้ยวซ้ายผ่านไนท์บาซ่าร์ไปเลี้ยวขวาผ่านถนนจอมสุรางค์เพื่อไปยังลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้ร่วมสรงน้ำและขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล ในเทศกาลมหาสงกรานต์ ปีใหม่ไทยประจำปี2561
ซึ่งขบวนแห่ประกอบด้วย ทหารถือเครื่องสูงประจำตำแหน่งหน้าพระวิหาร นางรำ เทวดา นางฟ้า นางฟ้อน ด้านหน้าขบวน นำไปประดิษฐาน ยังลานหน้าอนุสาวรีย์เพื่อสรงน้ำพระ และสรงน้ำคุณย่าโม หลังจากนั้น ลอดซุ้มประตูเมืองชุมพลซึ่งเป็นประตูเมืองที่มีความสำคัญของพี่น้องชาวจังหวัดนครราชสีมา และเคลื่อนขบวนนำองค์ “พระขอฝน” กลับมาประดิษฐานยังวัดพระนารายณ์มหาราช รวมทั้งเป็นจุดเริ่มต้นสร้างความเชื่อทัศนคติว่าเทศกาลสงกรานต์ของไทย ไม่ได้สำคัญแค่เพียงเล่นสาดน้ำกันเท่านั้น มุ่งหวังให้ประเพณีอันดีงามกลับคืนมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง แล้วสืบสานต่อไปยังคนรุ่นหลัง จัดให้เป็นงานประจำปี สืบต่อไป
โดยจะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้จับชายผ้าพระ เดินตามขบวนกลับไปยังวัด จากนั้นจะมีการประกอบพิธีสรงน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์ และผู้สูงอายุ มีการก่อเจดีย์ทราย ซึ่งถือเป็นประเพณีสงกรานต์ดั่งเดิม ที่ประชาชนจังหวัดนครราชสีมา ควรสืบสานและอนุรักษ์ไว้ ซึ่งมีการแสดงและการละเล่นสงกรานต์แบบไทยดั่งเดิม ก่อพระเจดีย์ทราย และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ถือเป็นการรื้อฟื้นประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม เมื่อปี พ.ศ.2522 ยุคสมัยเป็นเทศบาลเมืองนครราชสีมา ได้เคยอันเชิญ “หลวงพ่อพระคันธารราษฏร์” ให้ชาวโคราชได้สรงน้ำพระ หลังจากนั้นก็ไม่ได้จัดขึ้นมาอีกเลย
สำหรับประวัติความเป็นมา “พระคันธารราษฎร์” เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ของวัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร สร้างเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2464 โดย “พระยานครราชเสนี (สหัด สิงหเสนี)” เจ้าเมืองนครราชสีมา คนที่ 11 เป็นผู้สร้าง มีขนาดหน้าตัก 39 นิ้ว สูงประมาณ 1 เมตร 30 เซนติเมตร ครั้งเมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ พระยานครราชเสนี (สหัด สิงหเสนี) เจ้าเมืองนครราชสีมาขณะนั้น ได้ริเริ่มประกอบพิธีอัญเชิญ “พระคันธารราษฎร์ แห่ลอดประตูชุมพล” เนื่องในวันสงกรานต์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ประชาชนชาวโคราชเรื่อยมาจนถึงปี 2522 พิธีกรรมดังกล่าวได้หยุดไป
กระทั่งเมื่อ วัดพระนารายณ์ได้บูรณะสังขรณ์ปิดทองพระทศพลญาณประทานบารมี หรือหลวงพ่อใหญ่ และขุดค้นพบพระพุทธรูปโบราณหลายองค์ใต้ฐานพระประธาน ทางวัดจึงมีแนวคิดที่จะรื้อฟื้นพิธีอัญเชิญพระคันธารราษฎร์ แห่ลอดประตูชุมพลขึ้นมา ซึ่งการลอดประตูชุมพล เป็นเอกลักษณ์ของเมืองโคราช
สำหรับ “พระคันธารราษฎร์” มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวายกเสมอพระอุระในท่ากวัก พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา เป็นกิริยารับน้ำ ลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ โดยลงยาสีเหมือนจริง พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์บางเรียว พระกรรณยาว เกือบจดพระอังสา ขมวดพระเกศา ทำเป็นรูปก้นหอยเรียง ตลอดถึงพระเมาลี พระรัศมีทำเป็นรูปดอกบัวตูม ครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวา มีริ้วผ้าที่ด้านหน้าองค์พระพุทธรูป รองรับด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงาย ทั้งนี้ ประชาชนนิยมกราบไหว้พระคันธารราษฎร์ เพื่อขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งเรียกชื่ออีกอย่างว่า “พระขอฝน”