โคราชเมืองหลวงมันสำปะหลัง เร่งถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เกษตรกรในงาน Field Day ส่งสัญญาณเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ เผยปีนี้ราคามันฯ พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์เกษตรกรยิ้ม คาดเกษตรแห่ปลูกเพิ่มทำผลผลิตเพิ่มเฉียด 10 ล้านตันแน่ เตรียมจับมือเอกชนนำร่องแปลงปลูกมันประสิทธิภาพสูงในทุกอำเภอ

ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรเครือข่าย ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา นายวิบูลย์ ไชยวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 7เป็นปรานเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโยเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2561 ในวาระครบรอบ 50 ปี กรมส่วนเสริมการเกษตรปี 2561 โดยมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และเกษตรกรเข้ากว่า 500 คนด้วย ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้รับทราบเทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ ช่องทางการตลาด แหล่งข้อมูล การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของตนเอง ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรด้วยกันเอง รวมทั้งนักวิชชาการผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ด้วย

นายวิบูลย์ ไชยวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 7 เปิดเผยว่า “การจัดงาน Field day ถือเป็นสัญญาณของการเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ที่เหมาะสม สำหรับปีการผลิต 2561 มีการจัดงาน Field Day ขึ้นทั่วประเทศ ทั้งสิ้น 882 ศูนย์ ในจังหวัดนครราชสีมาจำนวน 32 ศูนย์ ในงานนี้จะเน้นหนักในสินค้ามันสำปะหลัง ซึ่งเป็นสินค้าหลักของเกษตรกรในพื้นที่ มีกิจกรรมที่สำคัญคือการให้ความรู้ในกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ 1.สถานีการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเผลิตและการตลาดมันสำปะหลัง เช่น การจัดการดิน และการปรับปรุงโครงสร้างดิน การใช้พันธุ์มันสำปะหลังตามความเหมาะสม กับพื้นที่ และนวัตกรรมการใช้มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ การอารักขาพืช การจัดการน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง การใช้นวัตกรรมเครื่องจักรเพื่อทดแทนรงงาน การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าผลผลิต การบริหารจัดการแปลงส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ การเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดแบบบูรณาการ 2.การสาธิตการใช้เครื่องจักรกลเพื่อลดต้นทุนการผลิต 3.นิทรรศการองค์ความรู้มันสำปะหลังและการใช้ปัจจัยในการเพิ่มผลผลิตแลลดต้นทุนการผลิต 4. ตลาดสินค้าประชารัฐเกษตรกร”

“สำหรับจังหวัดนครราชสีมา เป็นแหล่งผลิตมันสำปะหลังแห่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย หรือเป็นนครหลวงแห่งการผลิตมันสำปะหลังของประเทศไทย มีผลผลิตต่อปีกว่า 7-8 ล้านตัน โดยปีที่ผ่านมาได้มีการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรพบว่า มีการปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่เดิมซ้ำๆ หลายปี ทำให้ดินที่ปลูกมีความแน่นเป็นดินดาน จำเป็นต้องระเบิดดินดานเพื่อให้น้ำซึมผ่านลงไปด้านล่างมากขึ้น”

นายวิบูลย์ กล่าวอีกว่า “ซึ่งจะทำให้มันฯ มีความสมบูรณ์มากขึ้นและปัญหาหัวมันเน่าในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังได้ ปัญหารากเน่าหรือโคนเน่า ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เป็นต้น สำหรับปีนี้จังหวัดนครราชสีมาตั้งเป้าหมายว่า จะเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้จากเดิม 4 ตัน/ไร่ เป็น 5 ตัน/ไร่ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะถ่ายทอดให้เกษตรกร และจะมีการร่วมมือกับภาคเอกชนในจังหวัดนครราชสีมา ในการดำเนินการเพิ่มผลผลิตมันฯ ให้ได้สูงถึง 7 ตัน/ไร่ โดยจะมีแปลงสาธิตเกิดขึ้นทุกอำเภอของจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแปลงที่จะนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้าไปใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร”

“อย่างไรก็ตามคาดว่าในฤดูกาลผลิต 2561/62 พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของจังหวัดนครราชสีมาจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 10 % เนื่องจากราคามันสำปะหลังสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ คือราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 3.20 บาท ประกอบกับพื้นที่เพาะปลูกลดลงจากเดิม 1.8 ล้านไร่ เหลือ 1.7 ล้านไร่ เพราะปีที่ผ่านเกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน เช่น อ้อย ข้าวโพด ซึ่งราคาดีกว่ามันสำปะหลัง จึงทำให้พื้นที่ปลูกมันฯ ลดลงไปประมาณ 100,000 ไร่”

“แต่เมื่อปีนี้ราคามันสำปะหลังดีเกษตรกรที่หายไปประมาณ 100,000 ไร่นั้น ก็อาจจะกลับมาปลูกมันฯ คืน แต่คงไม่ทั้งหมด เนื่องจากอ้อยสามารถปลูกได้หลายรุ่น เช่น คนที่ปลูกอ้อย 10 ไร่ ก็อาจจะแบ่งมาปลูกมันฯ 5 ไร่เป็นต้น แต่จากสถานการณ์ราคาจึงคาดว่าพื้นที่ปลูกมันฯ ปีนี้ของจังหวัดนครราชสีมาเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนซึ่งส่งผลให้ผลผลิตปีนี้เพิ่มขึ้นประมาณ 8-10 ล้านตัน” นายวิบูลย์ กล่าวทิ้งท้าย