กระทรวงมหาดไทยไฟเขียวแล้ว “เทศบาลนครโคราช” เร่งเดินเครื่องผุดบิ๊กโปรเจ็กต์ “โรงไฟฟ้าขยะ” 2,000 ล้าน หลังจาก “กองทัพภาคที่2” ไฟเขียวมอบพื้นที่ทหาร 153 ไร่ ตั้งโรงงานโล่งสะดวกไร้ปัญหา ด้านรองนายกฯบุญเหลือ เผยรอเพียง TOR คาดเปิดประมูลได้ไม่เกินพฤศจิกายนนี้ ล่าสุดกลุ่มทุนเอกชนแห่ร่วมประมูลกว่า 100 ราย

เมื่อวันที่ 15 ส.ค.2561 นายบุญเหลือ เจริญวัฒน์ รองนายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา ได้ออกมาเปิดเผยถึงความคืบหน้า โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ของเทศบาลนครนครราชสีมาว่า “ตามนโยบายการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนของกระทรวงมหาดไทย และรัฐบาล คสช. ซึ่งขณะนี้เทศบาลนครนครราชสีมา กำลังดำเนินการผลักดันโครงการร่วมลงทุนก่อสร้างเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือโรงไฟฟ้าพลังขยะ มูลค่าลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท รองรับปริมาณขยะ 500 ตันต่อวัน มีกำลังผลิตกระแสไฟฟ้า 9.3 เมกะวัตต์ เป็นโครงการระบบกำจัดขยะมูลฝอย ระยะที่ ของเทศบาลนครนครราชสีมา ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้บริหารดำเนินการศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยศูนย์ที่ จังหวัดนครราชสีมา เพื่อรองรับกำจัดขยะจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ อำเภอ ประกอบไปด้วย อ.เมืองนครราชสีมา อ.ขามทะเลสอ และ อ.เฉลิมพระเกียรติ เพื่อแก้ปัญหาขยะที่ตกค้างอยู่ขณะนี้กว่า แสนตัน

“ซึ่งในปัจจุบันศูนย์จำกัดขยะมูลฝอยของเทศบาลนครราชสีมา ซึ่งเป็นระบบกำจัดขยะมูลฝอย ระยะที่ 1 ได้รับความอนุเคราะห์จาก กองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2) ให้ใช้พื้นที่ราชพัสดุในราชการทหาร จำนวน 73 ไร่ ก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะแบบผสมผสาน ภายใต้ชื่อ “โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และพลังงาน” ขนาด 230 ตัน/วัน ออกแบบรองรับขยะเทศบาลนครฯ เป็นระยะเวลา 20 ปี ใช้งบประมาณก่อสร้าง 300 ล้านบาท ประกอบด้วย ระบบคัดแยก, ระบบย่อยสลายแบบไม่ใช้อากาศ, เครื่องยนต์ก๊าซชีวภาพผลิตไฟฟ้า และระบบฝังกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาล เปิดดำเนินการเมื่อปี 2555 และ เริ่มขายไฟฟ้าได้ในปี 2556 ที่ผ่านมา”

“โดยศูนย์กำจัดขยะแห่งนี้ยังถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย ศูนย์ที่ 3 จังหวัดนครราชสีมาด้วย เพื่อให้บริการแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต่างๆในพื้นที่ 3 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมืองนครราชสีมา, อ.เฉลิมพระเกียรติ และ อ.ขามทะเลสอ (อ.โชคชัย บางส่วน) จึงมีขยะจากเทศบาลอื่นๆ ในพื้นใกล้เคียงส่งเข้ามากำจัด ตามคำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพิ่มขึ้นอีก 300 ตันต่อวัน จากเดิมรองรับเฉพาะขยะเทศบาลนครฯ 230 ตัน/วัน ทำให้ปี 2557 เป็นต้นมา มีปริมาณขยะเข้าสู่ระบบรวมมากกว่า 500 ตัน/วัน”

“ส่งผลให้ขณะนี้ศูนย์กำจัดขยะของเทศบาลนครฯ มีขยะตกค้างกองเป็นภูเขาอยู่กว่า 4.4 แสนตัน เพราะเกินความสามารถที่ระบบจะรองรับได้ ทำให้ระบบกำจัดที่มีอยู่ชำรุดเสียหายและพื้นที่ฝังกลบเต็มอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มวิธีการกำจัดขยะที่เหลือจากระบบการกำจัดขยะ ระยะที่ 1 ด้วยเทคโนโลยีเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงาน หรือโรงไฟฟ้าจากพลังงานขยะ ตามนโยบายของรัฐบาล”

นายบุญเหลือ กล่าวต่อว่า “โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ระบบกำจัดขยะมูลฝอย ระยะที่ 2 ดังกล่าว จะเป็นระบบการกำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีเตาเผาสมัยใหม่ เป็นเตาเผาแบบตะกรับ เผาได้แบบหมดจดถูกหลักวิชาการ โดยจะมีอาคารรับขยะมูลฝอย และ เตาเผาแบบบ่อพัก ความจุ 7,000 ตัน (รองรับขยะ 12 วัน ที่ 550 ตันต่อวัน) และ มีระบบรวบรวมน้ำเสียจากบ่อพักขยะส่งไปบำบัด ด้วยระบบย่อยสลายแบบไม่ใช้อากาศในโครงการระยะที่ 1 รวมทั้ง ระบบบำบัดมลพิษทางอากาศ”

“โดยมูลค่าลงทุนประมาณ 2,128.25 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 งานระบบเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับระยะที่ 1 เป็นงานวางท่อรวบรวมน้ำชะจากบ่อพักขยะเข้าระบบหมัก มูลค่าลงทุน 0.80 ล้านบาท และส่วนที่ 2 งานก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์เตาเผาใหม่ ประกอบด้วย งานถมดินปรับพื้นที่ 21.30 ล้านบาท, อาคารรับและบ่อพักขยะมูลฝาย 180.82 ล้านบาท, ระบบเตาเผาและระบบผลิตพลังงานไฟฟ้า 1,880.15 ล้านบาท, อาคารและสิ่งปลูกสร้างสำหรับเครื่องผลิตไฟฟ้า 31.77 ล้าบาท และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ 13.41 ล้าบาท”

“สำหรับรูปแบบการลงทุน เอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ระยะเวลาสัญญา 25 ปี มีรายได้เป็นกระแสไฟฟ้าจำหน่ายเข้าระบบสายส่งของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยตรง รวมทั้งรายได้จากค่าธรรมเนียมกำจัดขยะ ในอัตราประมาณ 400 บาท/ตัน จากปัจจุบัน 300 บาท/ตัน ทำให้โครงการมีความเป็นไปได้ทางการเงินและเอกชนมีความสนใจที่จะลงทุนเป็นจำนวนมากติดต่อเข้ามาแล้วนับ 100 ราย”

นายบุญเหลือกล่าวอีกว่า “ส่วนสถานที่ตั้งโครงการอยู่บริเวณศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย ระยะที่ 1 ที่ราชพัสดุในราชการกองทัพบก สนามยิงปืนหนองปรือ กองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2) อ.เมืองฯ จ.นครราชสีมา โดย ทภ. 2 ได้อนุญาตให้เทศบาลนครฯ ใช้พื้นที่ในการกำจัดขยะ เพิ่มอีกจาก 73 ไร่ รวมเป็น 153 ไร่แล้ว ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องที่ตั้งโครงการอย่างแน่นอน”

“ซึ่งโครงการระบบกำจัดขยะมูลฝอย ระยะที่ 2 นี้จะ ประกอบกอบด้วย พื้นที่ก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าขยะ, บ่อพักน้ำ, บ่อสำรองน้ำใช้ และทาง ทภ.2 ยังอนุมัติให้ใช้พื้นที่อีก 50 ไร่ เพื่อเป็นบ่อฝังกลบขยะชั่วคราว และรองรับขยะที่เข้ามาจำนวนมากทุกวัน” นายบุญเหลือ กล่าว

ล่าสุด ทางเทศบาลนครนครราชสีมา ได้รับการอนุมัติการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าขยะดังกล่าวจากกระทรวงมหาดไทยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำข้อกำหนดขอบเขตงาน หรือ TOR เพื่อหาผู้รับเหมาเอกชนที่จะเข้ามาดำเนินการ คาดว่าภายในเดือนสิงหาคมนี้ ทางเทศบาลนครนครราชสีมา จะสามารถลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกองทัพภาคที่ ซึ่งเป็นข้อตกลงเงื่อนไขต่างๆ ในการใช้พื้นที่ดำเนินการโครงการฯ จากนั้นคาดว่าเดือนพฤศจิกายนนี้ จะประกาศหาผู้ลงทุนได้ และใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ ปี หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงคาดว่าจะเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานขยะได้ประมาณปี 2565

สำหรับรูปแบบการลงทุน เอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ระยะเวลาสัญญา 25 ปี มีรายได้เป็นกระแสไฟฟ้าจำหน่ายเข้าระบบสายส่งของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยตรง รวมทั้งรายได้จากค่าธรรมเนียมกำจัดขยะ ในอัตราประมาณ 400 บาทต่อตัน จากปัจจุบัน 300 บาทต่อตัน ทำให้โครงการมีความเป็นไปได้ทางการเงิน และเอกชนมีความสนใจที่จะลงทุนเป็นจำนวนมาก ติดต่อเข้ามาแล้วกว่า 100 ราย